วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553


มีความเร็วสูงสุดในการส่งถ่ายข้อมูลที่ 133 Mbps เท่านั้น (MagaBit per Second) เป็นการส่งถ่ายข้อมูลแบบขนาน
2. SATA นั้นปัจจุบันที่ออกมาสู่ตลาด มีความเร็วเริ่มต้นที่ 150 Mbps หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SATA 1X อีกไม่นานความเร็วจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

ATA ถูกพัฒนาโดย Maxtor ซึ่งเหมือนกับว่าถูกทำออกมาเพื่อให้ใช้ไปก่อน โดยรอ SATA ซึ่งถือว่าเป็นของจริงออกมา โดยเป็นทีมพัฒนาเดียวกัน


ATA เป็นการรับส่งข้อมูลแบบขนาน ทีละ 40 เส้น ส่วน SATA จะเป็นการสงข้อมูลแบบอนุกรม อธิบายให้เห็นง่ายๆ คือ เมื่อคุณขับรถอยู่บน 8 เลน ซึ่งวิ่งไปข้างหน้าพร้อมกัน และเผอิญทางข้างหน้าเป็นถนนเลนเดียว (เพื่อประมาลผล) รถทุกคันต้องชะลอ และเรียงแถวออกทีละคัน นี้คือ ATA ฉะนั้นยิ่งมีรถมากก็ยิ่งช้า(ความถี่) แต่ถ้าคุณอยู่บนถนนเลนเดียว ไม่ว่ารถบนถนนเดียวกับคุณจะมีมากแค่ไหนก็ไม่ต้องชะลอ นี้คือ SATA สมมุติว่าความเร็วของรถอยู่ที่ 90 km/h ทุกคัน คุณคิดว่า 8 เลนที่ต้องเปลี่ยนเป็น 1 เลน(ATA) กับ 1 เลน (SATA) ตัวไหนจะเร็วกว่ากัน

การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกันคะ เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้คะ

ชิปเซ็ต (Chipset)
อุปกรณ์ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นตัวควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือประสานการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะโปรเซสเซอร์ (ซีพียู) และหน่วยความจำหลัก เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ตัวควบคุมฐานเวลา ควบคุมระบบบัสของซีพียู ระบบบัสของสล็อต รวมถึงควบคุมการติดต่อสื่อสารกับพอร์ต (Port) ต่างๆ เช่น Communication Port, USB Port


แอร์การ์ด คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง PC และ Notebook เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS และ EDGE ในปัจจุบัน ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนขอแค่ให้มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็สามารถใช้งานแอร์การ์ดเพื่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้ทันที
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)


เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์นี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะยัง คงมีใช้อยู่ตามองค์กรราชการ



2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)


เครื่องพิมพ์พ่นหมึก สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นเป็น การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการ การพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์แบบซ้อนแผ่นก๊อปปี้ไม่ได้ แต่มีความสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วและเสียงไม่ดัง มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการพิมพ์เป็นหน้าต่อนาที PPM (Page Per Minute) ความสามารถของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ถูกพัฒนามาให้มีประสิทธ์ขึ้นเลื่อยๆ นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ต้องมีกระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน ณ ปัจจุบัน(2545)ความสามารถของเครื่องพิมพ์น้นสูงสุดถึง 4800x1200 dpi (Dot per inch)

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)


เครื่องพิมพ์ชนิดนี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์เบบเดียวกันกับเครื่อง ถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสง จากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกวาดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบที่อยู่บนลูกกลิ้งจะ ไปทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลาย ติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างถูกต้อง ทำให้ความละเอียดของจุดภาพบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพ และตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เสียงจะไม่ดัง

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553



เมาส์ (อังกฤษ: mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสรร ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสรรแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ Air Mouse ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน


การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(ในรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์


การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญานวิทยาเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า Wireless mouse


เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูเมาส์และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact Disc Read Only Memory) เป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพคดิสก์สำหรับฟังเพลง ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปคะ ทั้งนี้ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 700 MB นะคะ สามารถเก็บข้อมูลในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียง รวมทั้งภาพวีดิโอไว้ในแผ่นซึ่งพร้อมจะนำมาใช้ได้ทันที

Monitor คือส่วนที่จะแสดงผลลัพธ์หรือเอ้าท์พุท จากการทำงานของคอมพิวเตอร์ออกมาทางจอภาพให้เราได้เห็นกันโดย Monitor จะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง

ส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพมาปรากฏบนจอภาพได้คือสิ่งที่เราเรียกว่า ซีอาร์ที(Cathode-ray-tube หรือ หลอดคาโธด-เร)


หลอดคาโธด-เร นั้นเป็นหลอดสูญญากาศ ประกอบด้วยปืนอิเล็คตรอน(Electronic gun) กระบอกเดียวหรือหลายกระบอกสำหรับเอาไว้ยิงอิเล็คตรอนออกมาเพื่อทำให้เกิดลำแสงซึ่งกวาดไปบนจอภาพข้างหนึ่งไปสู่อีกข้างหนึ่ง
จอภาพนั้นเคลือบด้วยสารเรืองแสงชนิดหนึ่ง เมื่อมีลำแสงอิเล็คตรอนมากระทบสารชนิดนี้จะเกิดแสงขึ้นมา
จอภาพหลายสีซึ่งเราเรียกว่า จอสี นั้นจะมีปืนอิเล็คตรอนอยู่ 3 กระบอก ปืนแต่ละกระบอกจะยิงอิเล็คตรอนเทื่อมากระตุ้นให้สารที่เคลือบจอภาพอยู่เรียงแสงสีที่แตกต่างกันออกไป
ได้แก่กระบอกหนึ่งจะทำให้สารเคลือบเรืองแสงสีแดง อีกกระบอกหนึ่งจะทำให้ สารเคลือบเรืองแสงสีเขียว และ อีกกระบอกหนึ่งจะทำให้สารเคลือบเรืองแสงน้ำเงิน สารที่เคลือบจอภาพอยู่เรืองแสงสีที่แตกต่างกันออกไป
แสงที่เกิดขึ้นบนจอภาพทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน จะกวาดตั้งแต่ทางด้านซ้ายมือไปทางด้านขวามือ และจะกวาดตั้งแต่ทางด้านบนลงมาทางด้านล่างของจอภาพ
ลำแสงที่ยิงออกมาจากปืนอิเล็คตรอนนี้จะถูกทำให้หักเหโดยส่วนที่เรียกว่า โยค(Yoke) ซึ่งอยู่ตรงคอของหลอดภาพ
ในขณะที่ลำแสงถูกยิงจากปืนอิเล็คตรอนเพื่อให้ไปกระทบกับสารเรืองแสงบนจอภาพนั้น สารเรืองแสงเหล่านั้นมีลักษณะเป็นจุดๆๆๆเล็กๆเรียงกันเป็นแถว เรียกว่า Pixel (พิกเซล)
ตามปกติจำนวน pixel นี้จะมีมากหรือน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอภาพหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า จอภาพจะมีคุณภาพดีเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวน (Pixel) ถ้าจอภาพมีจำนวนพิกเซลมาก หนาแน่ ภาพที่ได้ก็จะคมชัด
Pixel (พิกเซล) คือส่วนที่เล็กที่สุดบนจอภาพที่สามารถควบคุมได้ จอภาพยิ่งมีจำนวนพิกเซลมาก ภาพก็ยิ่งมีความคมชัดมาก
จอภาพที่มีพิกเซล 640 x 480 pixel หมายความว่า บนจอภาพนั้นมีพิกเซลตามนอน 640 และมีพิกเซลตามแนวตั้ง480 พิกเซล
การที่จอภาพแต่ละจอมีจำนวน pixel หรือจุดแสง มากน้อยแตกต่างกันนี้ ทำให้คุณภาพของภาพ หรือตัวอักษรที่ปรากฏ บนจอภาพนั้นมีความชัดเจน หรือไม่ชัดเจนแตกต่างกัน
การที่มีจำนวนจุดมาก หรือน้อยบนจอภาพนั้น เขาเรียกว่า รีโซลูชั่น (resolution)
รีโซลูชั่น หมายถึง จำนวนจุดที่เรียงกันไปตามแนวนอน คูณกับจำนวนจุดที่เรียงกันลงไปทางตั้ง เช่น จอภาพประเภท high resolution อาจจะมี pixel (จุดแสง) ที่เรียงลำดับกันตามแนวนอน 640 จุด และเรียงกันอยู่ในทางตั้ง 800 จุด
ส่วนจอภาพบางประเภทอาจมีรีโซลูชั่นที่ต่ำ หรือ Low Resolotion คือมีจุดภาพทางแนวนอน 80 จุด และจุภาพทางแนวตั้ง เพียง 100 จุด เส้นภาพที่ออกมาทางจอภาพก็จะแลเห็นเป็นหยักๆ ไม่ราบเรียบ เป็นต้น
ถ้าเราแบ่งชนิดของจอภาพ โดยใช่จำนวนพิกเซล (Pixel) เป็นเกณฑ์แล้วเราก็จะได้จอภาพหลายชนิด จอภาพแต่ละชนิดก็ให้ ภาพและตัวอักษรบนจอภาพที่มีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เช่น
จอภาพโมโนโครม (Monochrome) เป็นจอภาพสีเดียว มักมีสีเขียว เหลืองอำพันหรือขาวบนพื้นจอภาพสีดำ รีโซลูชั่นหรือจอภาพแบบโมโนโครม มักมี 640 x 350 พิกเซล
จอภาพสี CGA มาจากคำว่า Color Graphic Adapter เป็นจอภาพสีชนิดมี รีโซลูชั่นต่ำเพราะมีสีเพียงไม่กี่สี
จอภาพ EGA ย่อมาจากคำว่า Enhanced Graphic Adapter เป็นจอภาพสีชนิดมีคุณภาพสีดีขึ้น มีรีโซลูชั่น สูงขึ้น และมีสีมากขึ้นด้วย
จอภาพ VGA ย่อมาจากคำว่า Video Graphic Array เป็นจอภาพที่มีคุณภาพดีมากมี รีโซลูชั่นสูง
จอภาพแบบซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) เป็นจอภาพที่มีคุณภาพเหนือกว่า จอภาพ VGA และราคาแพงกว่าด้วย ในปัจจุบัน จอภาพทีใช้กันจะเป็นแบบ Super VGA ที่มีคุณภาพดีที่สุดในขณะนี้

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชนิดของแรม









1. เอฟพีเอ็มดีแรม (Fast Page Mode Dynamic RAM : FPM DRAM) เป็นแรมที่พัฒนาหลังจากไดนามิกแรมธรรมดาในยุคแรกๆ เอฟพีเอ็มดีแรมเป็นแรมชนิดที่เก่าที่สุดที่ยังคงมีขายอยู่ ในตลาดคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันยังคงมีการผลิตมาจำหน่ายแต่น้อยมาก ทำให้เป็นแรมชนิดที่มีราคาแพง







2. อีดีโอแรม (Extended Data Output RAM : EDO RAM) เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นหลังจากเอฟพีเอ็มดีแรม พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2538 โดยบริษัทไมครอนในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมเอ็มเอ็มเอ็กซ์ เพนเทียมโปร ซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน









3.เอสดีแรม (Synchronous Dynamic RAM : SDRAM) หลังจาก พ.ศ. 2538 การพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในยุคต่อมาเพนเทียมทูร์ (Pentium II) และเพนเทียมทรี (Pentium III) เป็นเครืองที่มีความถี่สูงกว่า 66 เมกะเฮิรตซ์ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ มีผลให้อีดีโอแรมทำงานได้ไม่ดีพอ จึงมีการผลิตแรมที่เรียกว่าเอสดีแรมซึ่งเป็นแรมชนิดที่ยังใช้งานอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน






4. ดีดีอาร์ เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) เป็นแรมที่พัฒนามาจากเอสดีแรม นิยมเรียกอีกอย่างว่า ดีอาร์ดีแรม (DRDRAM) สามารถทำงานได้เร็วกว่าเอสดีแรมธรรมดา 2 เท่า









5. อาร์ดีแรม (Rambus Dynamic RAM : RDRAM) เป็นแรมที่ได้รับการออกแบบระบบใหม่ ให้แตกต่างจากแรมชนิดอื่นที่ได้กล่าวมาข้างต้น พัฒนาโดยบริษัทแรมบัส (Rambus Inc.) ส่งข้อมูลผ่านทางบัสที่มีความเร็วสูง เป็นแรมประเภทที่มีราคาแพงและการใช้งานซับซ้อน จึงไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเอสดีแรม และดีดีอาร์เอสดีแรม

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์งบประมาณ10,000บาท

CPU
E7500 2.93GHz
RAM
DDR2 1GB/800
HDD
160/7200 SATA2
Mainboard
GIGABYTE G31M-ES2L
VGA/Sound Card/Monitor/CD-Rom/Floppy Disk/Speaker/อื่นๆ
On board/On board/DVD-RW 22X Dual Layer/Case ATX 500W/Free Mouse + Keyboard + Speaker Stoner 240W


ราคา 10,000

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ASCII

Kittipob walkakunalai:0100 1011/ 0110 1001/0111 0100/0111 0100/0110 1001/0111 0000/0110 1111/0110 0010 /0111 01110/110 0001/0110 1100/0110 1011/0110 0001/0110 1011/0111 0101/0110 1110 /0110 0001/0110 1010/0110 0001/0110 1001

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ อาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคีเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฏีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฏีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอน เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสมเศรษฐกิจพอเพียง มี 2 รูปแบบ คือ
เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่โลภมาก และไม่เบียดเบียนคนอื่นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ การแลกเปลี่ยนร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้ส่วนร่วมได้รับประโยชน์ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญอย่างยั่งยืนเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปแบบของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจด้านการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
+ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 เป็นการทำการเกษตรที่มีระบบการผลิตที่สามารถเลี้ยงตนเองในระดับที่ประหยัด และสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยเริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ
-ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่สระน้ำเพื่อเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ในไร่นาเพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
-ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี
-ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ และอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหารและยาสำหรับบริโภคในครัวเรือน เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้
-ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนทฤษฎีใหม่
+ขั้นที่ 2 เป็นการรวมพลังของเกษตรกรในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการในการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชนทฤษฎีใหม่
+ขั้นที่ 3 เป็นการประสานเพื่อจัดหาทุนและแหล่งเงินมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยได้รับประโยชน์ร่วมกันดังนั้น การที่จะเลือกใช้ทฤษฎีใหม่ทั้งทฤษฎีใหม่ขั้นต้น และทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าในการส่งเสริมเกษตรกรให้เป็นรูปธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชุมชน จะต้องมีความเข้าใจและยึดหลักการในการบริหารจัดการที่ดิน และน้ำเพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3

ความหมายของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณ (Calculating device) มาจากคำศัพท์ภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือการคำนวณจะเห็นว่ามีอุปกรณ์มากมายที่เราสามารถใช้ในการคำนวณได้ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้ 1. รับข้อมูล 2. ประมวลผล 3. แสดงผล

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานบริการคอมพิวเตอร์

หน่วยที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หน่วยที่2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
หน่วยที่4 ส่วนประกอบแผงวงจร
หน่วยที่5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล
หน่วยที่6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่7 การติดตั้งสายไสยสัญญาณ
หน่วยที่8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
หน่วยที่9 การจัดการฮาร์ดดิสก์
หน่วยที่10 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
หน่วยที่11 การติดตั้งไดรเวอร์
หน่วยที่12 รักษาความสะอาด